แมวกวัก (ญี่ปุ่น: 招き猫 maneki-neko ?) เป็นรูปปั้นแมวตามความเชื่อของชาวญี่ปุ่นว่าจะนำโชค นำลาภ สำหรับร้านค้าก็จะดึงดูดลูกค้าให้เข้าร้านเช่นเดียวกับนางกวักของไทย หน้าตาของแมวกวักคล้ายคลึงกับแมวพันธุ์พื้นเมืองของญี่ปุ่นชนิดหนึ่งที่ไม่มีหางที่เรียกว่า เชอแปนิสบ๊อบเทล (Japanese Bobtail) ตำนานของแมวกวักมีหลายเรื่อง เรื่องที่ขึ้นชื่อ คือ เรื่องที่เล่ากันว่าเกิดขึ้นในยุคเอะโดะ มีหญิงชราคนหนึ่ง ยากจนมาก แต่นางมีแมวเลี้ยงอยู่ตัวหนึ่งและรักแมวมาก มีกินก็กินร่วมกับแมว อดก็อดพร้อมกับแมว จนในที่สุดก็ไม่สามารถเลี้ยงไหว จึงนำไปปล่อย คืนนั้นเอง นางก็นอนเสียใจร้องไห้ทั้งคืน กระทั่งฝันว่าแมว มาบอกกับนางว่า ให้ปั้นรูปแมวจากดินเหนียวแล้วนางจะโชคดี เช้าวันรุ่งขึ้น หญิงชราจึงตื่นขึ้นมาปั้นแมวจากดินเหนียว ไม่ทันไรก็มีคนแปลกหน้าเดินผ่านหน้าบ้านขอซื้อตุ๊กตาแมวตัวนั้นจากนางไป จากนั้นนางก็เพียรปั้นแมวขึ้นมาอีกตัวแล้วตัวเล่า ตุ๊กตาแมวจากการปั้นของนางก็มีผู้มาขอซื้อไปตลอดเวลา นางจึงเริ่มมีเงินทองจากการขายตุ๊กตาแมว และสามารถนำแมวเลี้ยงสุดที่รักของนางกลับมาเลี้ยงได้อีกครั้งหนึ่ง ตั้งแต่นั้นมา จึงเป็นที่ร่ำลือว่า แมวเป็นสัตว์นำโชค และมีการปั้นและวางแมวกวักไว้ตามที่ต่าง ๆ ปัจจุบัน ในประเทศญี่ปุ่นหรือแม้แต่ในประเทศไทยเองก็ตาม สามารถพบเห็แมวกวักอยู่ทั่วไป มีหลากหลายขนาดและสีสัน บางส่วนก็ทำกลไกให้มือซ้ายสามารถขยับในลักษณะกวักเข้าหาตัวได้ด้วย ในขณะที่มืออีกข้างนึงก็ถือเหรียญไว้ เพราะมีความเชื่อว่า ถ้าแมวที่เลี้ยงไว้ยกขาหน้าขึ้นเสมอหูข้างซ้ายแล้ว จะมีคนมาหา ถ้าเป็นร้านค้าก็จะมีลูกค้าเข้าร้าน
My Blog
วันเสาร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2558
วันอาทิตย์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2557
ต้นคว่ำตายหงายเป็น
ชื่อวิทยาศาสตร์ Kalanchoe pinnata Lam Pers. ชื่อวงศ์ CRASSULACERE ชื่อสามัญ Chinese kale ชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ คว่ำตายหงายเป็น นิเวศวิทยา ขึ้นในดินแห้ง บริเวณกลางแจ้ง หรือร่มเงา เวลาออกดอก เดือนธันวาคม-มกราคม การขยายพันธุ์ โดยใช้เมล็ดหรือใบในการขยายพันธุ์ การใช้ประโยชน์ - ใบ ใช้รักษาแผลไฟไหม้ช่วยให้แผลแห้งเร็ว น้ำร้อนลวก ฝี ตาปลา เมื่อนำมาคั้นน้ำแก้บิด ขับปัสสาวะ โรคไขข้ออักเสบ แก้ฝีหนอง - ราก นำมาตากแห้งใช้เป็นยาลดไข้ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้หัด หรืออิสุกอิใส ลักษณะวิสัย :ไม้ล้มลุก เรือนยอด ทรงพุ่ม : รูปกรวย ความสูง 0.5 ม. ความกว้างทรงพุ่ม 0.3 ม. ถิ่นอาศัย : พืชบก ชนิดของลำต้น : ลำต้นเหนือดิน ตั้งตรงเองได้ เปลือกลำต้น : เทาปนสีน้ำตาล ลักษณะ : เรียบ ชนิดของใบ : ใบสี เขียวอ่อน ขนาดแผ่นใบกว้าง 3-5 ซม. ยาว 5-15 ซม. ลักษณะพิเศษของใบ เนื้อใบอวบน้ำ การเรียงตัวของใบบนกิ่ง : สสับ รูปร่างแผ่นใบ : รูปไข่ ปลายใบ : มน โคนใบ ; รูปหัวใจ ขอบใบ : จักฟันเลื่อยถี่ ชนิดของดอก : ดอกช่อ ตำแหน่งที่ออกดอก : ปลายยอด กลีบเลี้ยง : โคนเชื่อมติดกัน(gamosepalous) ปลายแยกเป็น 4 แฉก สี แดงและเขียว กลีบดอก : โคนเชื่อมติดกัน(gamosepalous) ปลายแยกเป็น 4 แฉก สี แดงและเขียว กลิ่น(scent) : ไม่มี
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)